การวิเคราะห์ผู้ฟัง
ความสำเร็จของผู้พูด ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ฟัง ดังนั้น ผู้พูดจึงต้องทำความรู้จักผู้ฟังให้มากที่สุด เพื่อนำมาวางแนวทางการพูด ให้ตรงกับความสนใจของผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังพอใจ ซึ่งคล้ายกับการวางแผนการรบที่ซุนวูได้เคยสอนไว้ว่า
“รู้กำลังเรา รู้กำลังข้าศึกรบ 100 ครั้ง ก็ชนะทั้ง 100 ครั้ง”
การวิเคราะห์ผู้ฟัง ควรพิจารณาในเรื่องหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. เพศ
ผู้ฟังแบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ
- เพศหญิง
- เพศชาย
ความสนใจและแนวโน้มทางจิตวิทยามีความแตกต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
เพศหญิง โดยส่วนใหญ่มักชอบความละเอียดอ่อน ประณีต ชื่นชมความสวยงาม
พิถีพิถันการแต่งกาย ให้ความสนใจกับสังคม ชอบแฟชั่น ศิลปการแสดง ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้หญิงมักเคร่งครัดระเบียบวินัย จุกจิกมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมักไม่กล้าแสดงออกในบางประการ เนื่องจากมีความเขินอายตามประเพณี
เพศชาย โดยส่วนใหญ่มักชอบความสบาย ทำอะไรแบบง่ายๆ ไม่ชอบยุ่งยาก สนใจในเรื่องท้าทาย ความสามารถ สนใจการเมือง ชอบคบเพื่อนฝูง การเที่ยวเตร่ การสังสรรค์ ชอบการตัดสินใจ ไม่ชอบการดูถูกเหยียดหยาม ฯลฯ
2. วัย หรือ อายุ
ผู้ฟังโดยส่วนใหญ่มีวัยอยู่ในระดับใด วัยของผู้ฟังแบ่งออกได้ ดังนี้
วัยเด็ก อายุตั้งแต่เกิดถึง 15 ปี มักให้ความสนใจในเรื่องความสนุกสนาน ไม่หนัก
สมอง โดยเฉพาะเรื่องแปลก การผจญภัยที่ให้ความตื่นเต้น การละเล่นที่น่าสนใจ ชอบการมีส่วนร่วม
วัยหนุ่มสาว ตั้งแต่อายุ 15 ปีถึงประมาณ 30 ปี ให้ความสนใจในเรื่องความรัก ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความสะดวกสบายในชีวิตความเป็นอยู่ สนใจสิ่งแปลกๆ และวิวัฒนาการที่มีความก้าวหน้า ชอบการศึกษาเรียนรู้ ฯลฯ
วัยกลางคน อายุตั้งแต่ 30 ปีถึงประมาณ 50 ปี มักต้องการความมั่นคงในชีวิตรักการทำงาน ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงาน มีความจริงจัง ตระหนักถึงความรับผิดชอบ ชอบการวางแผนอย่างสุขุมรอบคอบ สนใจในเรื่องชีวิตครอบครัว อยากเห็นความเจริญก้าวหน้าของลูกหลาน ฯลฯ
วัยชรา อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นคนอนุรักษ์นิยมมากขึ้น มีความมัธยัสถ์ เก็บหอมรอบริบทรัพย์สมบัติ นึกถึงความหลัง ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา ภูมิใจในความสำเร็จของลูกหลาน ฯลฯ
ถ้าผู้พูดวิเคราะห์วัยของผู้ฟังได้อย่างถูกต้องจะสร้างความศรัทธาและเลือกเรื่องได้เหมาะสม ในกรณีที่ความแตกต่างของวัยมีมาก ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องที่ผู้ฟังทุกวัยฟังได้และสนใจ
3. การศึกษา
ระดับการศึกษามีส่วนต่อระดับความเข้าใจของเนื้อเรื่องที่พูด การพูดที่ดีนั้นต้องมีความ
สอดคล้องกับพื้นฐานการศึกษาของผู้ฟัง อาทิเช่น ผู้ฟังเป็นผู้มีการศึกษาระดับสูง แนวการพูดที่เป็นวิชาการมีเหตุผลชัดเจน ย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ฟังพอใจและเข้าใจ แต่ถ้าผู้ฟังมีการศึกษาน้อย แนวการพูดต้องเป็นแบบง่ายๆ ฟังแล้วเข้าใจ ไม่เป็นวิชาการมากเกินไป
การวิเคราะห์ในเรื่องการศึกษานี้ถือว่าสำคัญ ถ้าวิเคราะห์ผิดพลาด ผู้ฟังอาจดูถูกภูมิปัญญา
ของผู้พูดได้ ถ้าระดับการศึกษาแตกต่างกัน ควรสรรหาวิธีการพูดให้ผู้ฟังทุกระดับฟังแล้วรู้เรื่องและเข้าใจ
4. อาชีพ
ผู้ฟังที่มีอาชีพอะไร มักสนใจไปในแนวทางอย่างนั้น การฟังเรื่องอะไรมักนำไป
เปรียบเทียบกับเรื่องที่ตนเองประกอบอาชีพอยู่หรือ มีประสบการณ์มาก่อน ความแตกต่างของภูมิประเทศทำให้เกิดความแตกต่างของอาชีพ การพูดในแต่ละสถานที่ การยกตัวอย่างหรือถ้อยสำนวน ควรสอดคล้องกับอาชีพของผู้ฟังโดยส่วนใหญ่ ถ้าผู้ฟังมีหลากหลายอาชีพไม่ควรให้ความสนใจหรือเน้นเฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
5. ทัศนคติและความเชื่อ
ผู้ฟังอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องทัศนคติและความเชื่อถือ
- นับถือศาสนาต่างกัน
- ความเชื่อทางการเมืองต่างกัน
- ทัศนคติต่อสังคมต่างกัน
6. ความสนใจพิเศษของผู้ฟัง
การพูดในช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอะไรอยู่เป็นพิเศษ ผู้พูดควรดึงเอาเหตุการณ์ที่ผู้ฟังสนใจ
มาก มาประกอบเรื่องที่พูดอย่างผสมผสาน จะเพิ่มความสนใจในเรื่องที่พูดมากยิ่งขึ้นเมื่อรู้จักผู้ฟัง รู้ว่าผู้ฟังชอบ หรือมีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษแล้ว ผู้พูต้องปรับตัวในการพูดให้สอดคล้องกับผู้ฟัง การพูดนั้นจะได้รับความสนใจ ผู้ฟังย่อมรับหรือเข้าใจได้ง่าย ซึ่งนั่นคือความสำเร็จของผู้พูด
การรวบรวมข้อมูลในการพูด
เมื่อทราบถึงหัวข้อการพูดแล้ว ผู้พูดต้อรวบรวมข้อมูล หรือวัตถุดิบเพื่อประกอบการพูด ผู้พูดที่ดีควรมีข้อมูลมากพร้อมที่จะพูดได้ทุกเรื่องทุกหัวข้อ การรวบรวมข้อมูลได้จากวิธีการต่อไปนี้
- รวบรวมจากประสบการณ์ จะเป็นข้อมูลที่หยิบมาใช้ได้ง่ายที่สุด มีความมั่นใจมากที่สุด
- รวบรวมจากการคิดเพิ่มเติม โดยอาศัยความรู้หรือทฤษฎีประกอบ
- รวบรวมจากการอ่าน เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ เรื่องเขียน นิตยสาร ตำรับตำรา ฯลฯ การอ่าน
ไม่จำเป็นต้องจดจำได้หมดเสมอไป จดจำเพียงเรื่องที่คิดว่าสนใจ หรือน่าจดจำก็พอ
- รวบรวมจาการสังเกตจดจำ พบอะไรแปลกน่าสนใจก็จดจำไว้
- รวบรวมจาการฟัง การอภิปรายปาฐกถา บรรยาย บันเทิง ฯลฯ
- รวบรวมจาการสนทนา หรือสัมภาษณ์จากผู้รู้
การใช้ถ้อยคำภาษา
จุดมิ่งหมายที่สำคัญต่อการพูด คือ ความเข้าใจของผู้ฟัง แต่บางครั้งการใช้ถ้อยคำภาษาที่ผิดความหมาย หรือไม่เหมาะสม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้ เนื่องจากผู้ฟังไม่เข้าใจ ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญต่อถ้อยคำภาษาในการพูด ดังนี้
1. ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย
ไม่ควรพูด้วยคำที่ยาก ต้องแปลไทยเป็นไทยจึงจะเข้าใจ ซึ่งมักจะเป็นพวกศัพท์เฉพาะทาง
วิชาการ เช่น พิชาน มโนทัศน์ หรือคำที่มีความหมายกำกวม ตีความได้หลายแง่ ตลอดจนคำต่างประเทศ ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีคำภาษาไทยที่ง่ายต่อความเข้าใจ
2. ออกเสียงอย่างถูกต้อง
คำควบกล้ำ ตัว ร ตัว ล ต้องออกเสียได้ชัดเจน มิฉะนั้นจะทำให้ความหมายของคำ
เปลี่ยนแปลงไป เช่น ข่าวคราว ถ้าออกเสียงไม่ชัดจะกลายเป็น ข่าวคาว เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์สแลง
ยกเว้นในกรณีที่เป็นคำที่มีความหมายสุภาพ สังคมยอมรับและเป็นที่เข้าใจได้โดยทั่วไป
4. หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ
โดยเฉพาะคำย่อ ที่มีผู้เข้าใจเฉพาะกลุ่ม ไม่เป็นที่รู้กันโดยแพร่หลาย เช่น ผบ. สส. ทส.
ป.จ.ว. ฯลฯ
5. ใช้คำพูดที่กระทัดรัด กระชับ ได้เนื้อหา โดยไม่ต้องอ้อมค้อม หรือใช้คำอย่างฟุ่มเฟือย
ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}
ตอบลบ